กรีฑา
เชื่อกันว่า ต้นกำเนิดของกรีฑานั้น เริ่มมากจากชาวกรีกโรมัน เมื่อประมาณ 776 ปีก่อนคริสตศักราช โดยเจ้าเมืองนั้นอยากให้พลเมืองของกรีกมีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรง เพื่อรับใช้ประเทศได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ในสมัยก่อนเชื่อว่า มีเทพเจ้าสถิตอยู่บนเขาโอลิมปัสพยายามทำตัวให้เป็นที่โปรดปราน ด้วยการทำพิธีกรรมบวงสรวงต่าง ๆ พร้อมเล่นกีฬาถวาย ณ ลานเชิงเขาโอลิมปัสแคว้นอีลิส เพื่อให้เกียรติแก่เทพเจ้า โดยมีกีฬาที่ชาวกรีกเล่นนั้น มี 5 ประเภท คือ การวิ่งแข่ง การกระโดด มวยปล้ำ พุ่งแหลน ขว้างจักร ทั้งนี้ เป็นที่สังเกตได้ว่า นอกจากกีฬามวยปล้ำแล้ว กีฬาทั้ง 4 ชนิด ล้วนแต่เป็นกีฬากรีฑาทั้งสิ้น นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการแข่งขันติดต่อกันมาเป็นเวลานานกว่า 1,200 ปี เลยทีเดียว
ต่อมากรีกเสื่อมอำนาจลง และตกอยู่ภายใต้อำนาจของชาวโรมัน การกีฬาของกรีกเลยเสื่อมลงตามลำดับ ใน พ.ศ. 936 (ค.ศ. 393) เนื่องจากจักรพรรดิธีโอดซีอุส แห่งโรมัน มีคำสั่งให้ยกเลิกการเล่นกีฬา ทั้ง 5 ประเภท เพราะเห็นว่าประชาชนเล่นกีฬาเพื่อการพนัน ไม่ได้เล่นเพื่อสุขภาพแต่อย่างใด และนับตั้งแต่นั้นกีฬาโอลิมปิกก็ได้ยุติเป็นระยะเวลานานกว่า 15 ศตวรรษ
หลังจากนั้น ก็ได้มีบุคคลสำคัญ กลับมารื้อฟื้นให้กีฬาโอลิมปิกกลับมาเริ่มอีกครั้ง โดย บารอน ปีแอร์ เดอ คูแบร์แตง (BaronPierredeCoubertin) ชาวฝรั่งเศส ซึ่งเขาได้ชักชวนบุคคลคนสำคัญของชาติต่าง ๆ เข้ามาร่วมประชุม เพื่อแข่งขันกีฬาร่วมกัน โดยให้จัดการแข่งขัน 4 ปี ต่อ 1 ครั้ง พร้อมระบุข้อตกลงในการเล่นกีฬากรีฑาเป็นหลักของการแข่งขัน เพื่อเป็นเกียรติและอนุสรณ์แก่ชาวกรีกในสมัยโบราณ ผู้ริเริ่มกีฬาโอลิมปิก ทั้งนี้ กีฬาโอลิมปิกได้เริ่มแข่งขันขึ้นอีกครั้ง ใน พ.ศ.2439 (ค.ศ. 1896) ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีก
ประวัติความเป็นมาของกรีฑาในประเทศไทย
ผู้ริเริ่มให้มีการแข่งขันกรีฑาในประเทศไทยนั้นก็ คือ กระทรวงธรรมการ (ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ) ที่ได้จัดให้มีการแข่งขันกรีฑาระดับนักเรียน ครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2440 ณ ท้องสนามหลวง โดยมี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน มาทรงเป็นองค์ประธานเปิดการแข่งขันกรีฑานักเรียนเป็นประจำทุกปี และได้จัดตั้งให้มีสมาคมกรีฑาสมัครเล่นประเทศไทยขึ้น
ประเภทของกรีฑา
กรีฑาประเภทลู่เป็นกรีฑาที่ต้องแข่งขันกันบนทางวิ่งหรือลู่วิ่งตลอดระยะทาง ใช้การวิ่งเป็นสำคัญตัดสินแพ้ชนะกันด้วยเวลาการแข่งขันที่นิยมกันทั่วไปมี ดังนี้
1.1 ) การวิ่งระยะสั้น หมายถึง การวิ่งในระยะทางไม่เกิน 400 เมตร นับจากจุดเริ่มต้นจนถึงเส้นชัย ซึ่งจะต้องวิ่งในลู่ของตนเองตลอดระยะทาง โดยแบ่งระยะทางวิ่งออกเป็น 60, 80, 100, 200 และ 400 เมตร
1.2) การวิ่งระยะกลาง หมายถึง การวิ่งในระยะทางตั้งแต่ 800 เมตรขึ้นไป แต่ไม่เกิน 1,500 เมตร
1.3) การวิ่งระยะไกล หมายถึง การวิ่งในระยะทางมากกว่า 1,500 เมตรขึ้นไป และการวิ่งมาราธอน (42.195 เมตร )
1.4) การวิ่งผลัด หมายถึง การแข่งขันที่แบ่งเป็นชุด ๆ แต่ละชุดมีจำนวนผู้แข่งขันเท่า ๆ กัน มีดังนี้...
การวิ่งผลัดระยะทางเท่ากัน หมายถึง ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนในชุดเดียวกันต้องวิ่งในระยะทางเท่ากัน เช่น 5 x 80, 8 x 50, 4 x100,4 x 200, 4 x 400 เมตร เป็นต้น
การวิ่งผลัดต่างระยะ หมายถึง ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนในชุดเดียวกัน วิ่งในระยะทางไม่เท่ากัน เช่น 80 x 120 x 120 x 80 เมตร เป็นต้น
1.5) การวิ่งข้ามรั้ว หมายถึง การวิ่งตามลู่วิ่งข้ามสิ่งกีดขวางความสูง และจำนวนรั้วที่ใช้แข่งขันในแต่ละประเภทแตกต่างกันไป เช่น วิ่งข้ามรั้ว 100 ,110,400 เมตร เป็นต้น
กรีฑาประเภทลาน เป็นกรีฑาที่ต้องแข่งขันกันในสนาม ตัดสินแพ้ชนะกันด้วยระยะทาง อาจเป็นความไกลหรือความสูง โดยแบ่งประเภทการแข่งขัน ดังนี้
2.1) ประเภทที่ตัดสินด้วยความไกล ได้แก่ กระโดดไกล เขย่งก้าวกระโดด ทุ่มลูกน้ำหนัก ขว้างค้อน ขว้างจักร และพุ่งแหลน
2.2) ประเภทที่ตัดสินด้วยความสูง ได้แก่ กระโดดสูง และกระโดดค้ำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น